ไม้อัดประเภทต่างๆ

ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมด้านการผลิตเฟอร์นิเจอร์ ได้พัฒนาไปไกลมาก วัตถุดิบที่ใช้ไม่ได้มีแค่วัสดุ ที่มาจากธรรมชาติ 100% เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีวัสดุสังเคราะห์ ที่ผ่านกระบวนการผลิตให้ได้วัตถุดิบที่เหมาะแก่การนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ ทำให้มีตัวเลือกในการเลือกใช้วัสดุในการนำมาตกแต่งบ้านที่มีความหลากหลายมากขึ้น และแน่นอนว่ายังสะดวกสบายมากขึ้นในเรื่องของการประกอบและการขนย้ายอีกด้วย

ไม้สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบัน มีอยู่ทั้งหมด 4 ประเภท จะเรียงลำดับไม้ที่มีคุณภาพต่ำไปยังคุณภาพสูง คือ


1. ไม้ปาติเกิล (Particle Board)

   


ไม้ปาติเกิล จะเป็นการนำเศษไม้ยางพารา ที่มีขนาดเป็นชิ้นเล็กๆ ที่เรียกว่า “ขี้เลื่อย” ซึ่งจะ       มีขนาดไม่เท่ากัน นำมาผ่านกรรมวิธีอัดบดเป็นแผ่น ผสมกาว และผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้แผ่นไม้ขนาดต่าง ๆ โดยความหนาที่นิยมนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์จะอยู่ที่ 9 - 25 มิลลิเมตรเท่านั้น

 

โดยพื้นผิวภายนอกนั้นผู้ผลิตส่วนมากจะปิดทับด้วยกระดาษพิมพ์ลายไม้ หรือแผ่นเมลามีน      ก่อนนำไปใช้งาน ไม้ชนิดนี้เรียกได้ว่าเป็นวัสดุที่นิยมนำไปทำเฟอร์นิเจอร์ในอุตสาหกรรมในอันดับต้น ๆ เนื่องจากมีราคาต้นทุนที่ต่ำมาก

 

ไม้ปาติเกิลจะมีทั้งแบบธรรมดาและแบบกันชื้น ซึงจะสังเกตได้ง่ายๆ คือ ถ้าแบบธรรมดาไส้ตรงกลางของไม้จะเป็นสีเดียวกันทั้งหมด แต่ถ้าเป็นแบบกันชื้น ไส้ตรงกลางของไม้จะเป็นสีเขียว

 

ไม้ปาติเกิลแบบธรรมดาจะไม่ทนความชื้น หากโดนความชื้นมากๆหรือแช่น้ำ ไม้จะบวมพอง เหมาะสำหรับเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านทั่วๆไป ที่ไม่มีความชื้น  แต่ไม้ปาติเกิลแบบกันชื้น จะมีความทนทานต่อความชื้นแต่ไม่ทนต่อการแช่ในน้ำ เหมาะสำหรับห้องครัวและห้องน้ำโซนแห้ง

 

              

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้ปาติเกิลแบบธรรมดา

 

ข้อดี

ข้อเสีย

-    ราคาถูก

-    ไม้แข็งแรงน้อยที่สุดในประเภทไม้อัด

-    น้ำหนักเบา

-    ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้

-    หาซื้อง่าย

-    ไม่สามารถพ่นสีทับได้

-    เป็นที่นิยม

-    เชื้อราขึ้นได้หากมีความชื้น

-    ขนย้ายสะดวก

-    มีช่องอากาศภายในแผ่นไม้

 



ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้ปาติเกิลแบบกันชื้น

 

ข้อดี

ข้อเสีย

-    ราคาถูก

-    ไม้แข็งแรงน้อยที่สุดในประเภทไม้อัด

-    น้ำหนักเบา

-    ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้

-    หาซื้อง่าย

-    ไม่สามารถพ่นสีทับได้

-    เป็นที่นิยม

-    มีช่องอากาศภายในแผ่นไม้

-    ขนย้ายสะดวก

 

-    ป้องกันเชื้อรา

 

 


2. ไม้เอ็มดีเอฟ (MDF: Medium-Density Fiberboard)


 

ไม้ MDF ย่อมาจากคำว่า Medium-Density Fiberboard สามารถแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า               “แผ่นใยไม้อัด ความหนาแน่นปานกลาง” โดยไม้ชนิดนี้ มีความคล้ายคลึงกับไม้ปาติเกิล คือเอาเศษขี้เลื่อยของไม้ยางพารามาบดอัด แต่จะใช้เครื่องที่มีแรงอัดสูงมากพร้อมกับความร้อน ด้วยเครื่องจักรเฉพาะทาง จึงทำให้เนื้อไม้มีความหนาแน่น ละเอียด และมีพื้นผิวด้านนอกที่เนียนมากกว่าไม่ปาติเกิล โดยความหนา  ที่นิยมนำมาผลิตเฟอร์นิเจอร์ จะอยู่ที่ 3 - 25 มิลลิเมตร เลยทีเดียว

 

โดยพื้นผิวภายนอกนั้น สามารถปิดผิวได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นการปิดผิวด้วยกระดาษ เมลามีน ลามิเนต รวมไปถึงการพ่นสีทับบนผิวด้านนอกได้อีกด้วย

 

ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้ MDF

 

ข้อดี

ข้อเสีย

-    เนื้อหนาแน่น ผิวเรียบเนียนตลอดทั้งแผ่น

-    ราคาสูงกว่าไม้ปาติเกิล

-    หาซื้อง่ายและเป็นที่นิยม

-    ผิวด้านในไม่สามารถโดนน้ำได้

-    ขนย้ายสะดวก

-    ฝุ่นเยอะขณะตัดไม้

-    มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้มาก

-    เชื้อราขึ้นได้หากมีความชื้น

-    พ่นสีหรือทาสีบนเนื้อไม้ได้

-    มีน้ำหนักมากกว่าไม้ปาติเกิล

-    ทนน้ำได้ดีกว่าไม้ปาติเกิล

 

-    ปิดผิวได้หลากหลายแบบ

 

 

 

 3. ไม้อัด (Plywood)


ไม้อัด ถือเป็นไม้ที่มีคุณภาพขึ้นมาอีกระดับ ในแง่ของความทนทาน แข็งแรง และคุณสมบัติพิเศษต่างๆ เช่น กันน้ำ กันปลวก เป็นต้น ซึ่งกระบวนการผลิตไม้อัด  คือ การนำไม้มาปอกเปลือกชั้นนอก       ที่ผิวไม่เรียบออกไป ต่อไปทำให้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วอัดเป็นชั้น ๆ จนแน่น จากนั้นนำไปผ่านกระบวนการทางเคมี ตามสูตรเฉพาะของโรงงานผลิต และปิดผิวด้วยเยื่อบุไม้ ซึ่งไม้อัดทำมาจากไม้ชนิดต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น


-    ไม้อัดยาง หรือไม้ยางพาราประสาน

-    ไม้อัดสัก, ไม้อัดสักอิตาลี

-    ไม้อัดแฟนซีหรือไม้อัดลวดลาย

-    ไม้อัดแอชจีน, ไม้อัดแอชอเมริกา

-    ไม้อัดบีช


ทางผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายบางแห่ง จะเอาคุณสมบัติพิเศษมาให้เลือกใช้กัน อย่างความสามารถของการกันน้ำ กันปลวก หรือแมลงจำพวกกินเนื้อไม้ได้ ซึ่งทางผู้ผลิตจะใช้กาวชนิดพิเศษในการยึดเนื้อ  มาผสมกับน้ำยากันปลวกเข้าไปในแต่ละชั้นของไม้ ส่วนด้านนอกอาจจะมีการทาน้ำยาเคลือบไว้

นอกจากนี้ ไม้อัดยังสามารถแยกออกเป็น 3 ประเภท คือ ไม้อัดชนิดใช้ภายใน (Interior Plywood), ไม้อัดชนิดใช้ภายนอก (Exterior Plywood) และ ไม้อัดชนิดใช้งานชั่วคราว (Temporary Plywood) ส่วนขนาดความหนามาตรฐานของไม้อัด จะมีตั้งแต่ประมาณ 3 - 20 มิลลิเมตร


ข้อดี-ข้อเสีย ของไม้อัด

ข้อดี

ข้อเสีย

-    ไม่บิดงอง่าย

-    ราคาค่อนข้างสูง

-    คงทน แข็งแรง

-    มีน้ำหนักมาก

-    ป้องกันและโดนน้ำได้

 

-    ทนความชื้น

 

-    กันปลวก

 

 

 




 


Visitors: 158,384